วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

No 12

Note 12
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

 อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 11  กลุ่ม 104
วันจันทร์  ที่ 16  มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
     การนำเข้าสู่บทเรียน  
     คำชี้แจง  :อาจารย์ตั้งคำถามแล้วให้นักศึกษาตอบคำถามเมื่อเห็นภาพสตอเบอรี่
   

กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมการร้องเพลงส่งเสริมพัฒนาการ


     เกร็ดความรู้ประโยชน์ของการร้องเพลงส่งเสริมพัฒนาการ

         1. ร้องเพลงช่วยพัฒนาการด้านภาษา เสียงเพลงช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาเช่นเดียวกับการอ่านหนังสือนั่นแหละ เพราะมีถ้อยคำๆ ที่ช่วยให้ลูกจำคำศัพท์ ด้วยวิธีที่แสนจะเพลิดเพลินกว่าการท่องจำเสียอีก
         2. ร้องเพลงช่วยควบคุมการออกเสียงและบริหารปอด การได้ยิน และได้ออกเสียงคำเดิมบ่อยๆ ทำให้น้องหนูออกเสียงชัดถ้อยชัดคำ (ตามวัย) และยังได้บริหารอวัยวะภายในอีกด้วย
         3. ร้องเพลงดังๆ แก้ขี้อาย เห็นเป็นแม่หนูน้อยขี้อายม้วนต้วนต่อหน้าใครๆ อย่างนี้เถอะ แกก็ยังสามารถร้องเพลงออกมาได้ง่ายกว่าการพูดเป็นประโยคเสียอีก เนื่องจากเด็กๆ จะรู้สึกเสรีเวลาที่ได้ใช้คำและน้ำเสียงเปล่งออกมาเป็นเพลง ยิ่งเป็นเพลงสนุกชวนคึกคัก แกก็จะทำท่ายึกยักแถมให้ชมเป็นขวัญตาอีกด้วย
        4. ระหว่างร้องเพลง สมองทั้งสองข้างจะถูกกระตุ้น ซึ่งก็จะทำให้พัฒนาการด้านอารมณ์ถูกกระตุ้นไปพร้อมๆกันด้วย นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้เพลงพัฒนาทักษะด้านอื่นของลูกไปพร้อมกันเช่น ร้องเพลง + เล่านิทาน + วาดรูป ก็จะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้น้องหนูไปในตัว
        5. ร้องเพลงสร้างความสัมพันธ์ การร้องเพลงนอกจากจะช่วยทักษะการพูด เขียนและอ่านของลูกให้ดีขึ้นแล้ว ยังใช้เพิ่มความสัมพันธ์กับกิจกรรมของสมาชิกในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็น กินข้าว แปรงฟัน ขึ้นรถ แต่งตัว ฯลฯ คุณสามารถทำทุกอย่างใกล้ตัวให้เป็นเสียงเพลงได้ค่ะ

กิจกรรมที่ 3  การเรียนการสอนในหัวข้อเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิต โดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน      
การสร้างความอิสระ
 -เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
 -อยากทำงานตามความสามารถ
หัดให้เด็กทำเอง
 -ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
 -ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
โอกาสและจังหวะ  การช่วยเหลือเด็กเมื่อไหร่
 -เด็กมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด  เบื่อ  ไม่ค่อยสบาย
 -หลายครั้งที่เด็กขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (เด็กอายุ 3-4 ปี)
ลำดับขั้นตอนในการช่วยเหลือตนเอง
   -แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
   -เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น การย่อยงาน การเข้าส้วม
สรุป
  -ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  -ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  -ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  -ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  -เด็กพึ่งตนเองได้  รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมที่ 4  การวาดวงกลมด้วยสีเทียน 



จากนั้นนำวงกลมที่สร้างสรรค์มาแปะลงลำต้นที่อาจารย์กำหนดไว้


ต้นไม้วงกลมที่สมบูรณ์แบบ


         จากกิจกรรมจะช่วยส่งเสริม  ความคิด จินตนาการ  คณิตศาสตร์  ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กในการสร้างสรรค์วงกลม    การนำเอาผลงานมาแปะเป็นรูปต้นไม้  การลากเส้นวงกลมบ่งบอกสภาวะอารมณ์  ความรู้สึก จิตใจ  กิจกรรมนี้ยังเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนๆ และครูอีกด้วย

การประเมิน
ประเมินตนเอง
     -ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา 
     -เเต่งกายเรียบร้อย
     -มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในเนื้อการเรียน
ประเมินเพื่อน
     -เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี
     -เพื่อนๆส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวไปร้องเพลงมา ทำให้ร้องเพลงท้ายคาบได้ดีตรงจังหวะ เเละพร้อมเพียงกันดี 
ประเมินอาจารย์ผู่สอน
     -อาจารย์รู้จักการกระตุ้นพฤติกรรมการสนใจเรียนให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาดี 
     -เเต่งกายสุภาพ 


นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น