Note 16
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
No 15
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 15
Note. 15
Note. 15
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 15 กลุ่104
วันจันทร์ ที่ 6 เมษายน 2558
****ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสำคัญของไทย วันจักรี****
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี”
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 5
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี”
No.14
การบันทึกอนุทินครั้งที่
Note 14
Note 14
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 14 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 30 มีนาคม 2558
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
****เนื่องจากมีการเรียนการสอนชดเชยความรู้วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด *****
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 5
์No.13
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 13
Note13
Note13
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 22 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม 2558
ความรู้ที่ได้รับ
- การสอบทดทวนความรู้ที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบ
-อาจารย์อธิบายวิธีทำข้อสอบข้อชี้แจงต่างๆ
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-เข้าใจในคำอธิบายจากอาจารย์ในการทำข้อสอบ
-ทำข้อสอบด้วยความสามารถของตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย เข้ารียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจทำข้อสอบอย่างตั้งใจ
-มีการซักถามถึงการทำข้อสอบกับอาจารย์ และมีการทำข้อสอบได้ดี
-แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลากันทุกคน
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีการวางแผนการสอนได้ดี
-อาจารย์อธิบายรายละเอียดข้อสอบได้ระเอียดและครบถ้วน
-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา น่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 5
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558
No 12
Note 12
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 12
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 11 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 16 มีนาคม 2558
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
การนำเข้าสู่บทเรียน
คำชี้แจง :อาจารย์ตั้งคำถามแล้วให้นักศึกษาตอบคำถามเมื่อเห็นภาพสตอเบอรี่
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการร้องเพลงส่งเสริมพัฒนาการ
เกร็ดความรู้ประโยชน์ของการร้องเพลงส่งเสริมพัฒนาการ
1. ร้องเพลงช่วยพัฒนาการด้านภาษา เสียงเพลงช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาเช่นเดียวกับการอ่านหนังสือนั่นแหละ เพราะมีถ้อยคำๆ ที่ช่วยให้ลูกจำคำศัพท์ ด้วยวิธีที่แสนจะเพลิดเพลินกว่าการท่องจำเสียอีก
2. ร้องเพลงช่วยควบคุมการออกเสียงและบริหารปอด การได้ยิน และได้ออกเสียงคำเดิมบ่อยๆ ทำให้น้องหนูออกเสียงชัดถ้อยชัดคำ (ตามวัย) และยังได้บริหารอวัยวะภายในอีกด้วย
3. ร้องเพลงดังๆ แก้ขี้อาย เห็นเป็นแม่หนูน้อยขี้อายม้วนต้วนต่อหน้าใครๆ อย่างนี้เถอะ แกก็ยังสามารถร้องเพลงออกมาได้ง่ายกว่าการพูดเป็นประโยคเสียอีก เนื่องจากเด็กๆ จะรู้สึกเสรีเวลาที่ได้ใช้คำและน้ำเสียงเปล่งออกมาเป็นเพลง ยิ่งเป็นเพลงสนุกชวนคึกคัก แกก็จะทำท่ายึกยักแถมให้ชมเป็นขวัญตาอีกด้วย
4. ระหว่างร้องเพลง สมองทั้งสองข้างจะถูกกระตุ้น ซึ่งก็จะทำให้พัฒนาการด้านอารมณ์ถูกกระตุ้นไปพร้อมๆกันด้วย นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้เพลงพัฒนาทักษะด้านอื่นของลูกไปพร้อมกันเช่น ร้องเพลง + เล่านิทาน + วาดรูป ก็จะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้น้องหนูไปในตัว
5. ร้องเพลงสร้างความสัมพันธ์ การร้องเพลงนอกจากจะช่วยทักษะการพูด เขียนและอ่านของลูกให้ดีขึ้นแล้ว ยังใช้เพิ่มความสัมพันธ์กับกิจกรรมของสมาชิกในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็น กินข้าว แปรงฟัน ขึ้นรถ แต่งตัว ฯลฯ คุณสามารถทำทุกอย่างใกล้ตัวให้เป็นเสียงเพลงได้ค่ะ
2. ร้องเพลงช่วยควบคุมการออกเสียงและบริหารปอด การได้ยิน และได้ออกเสียงคำเดิมบ่อยๆ ทำให้น้องหนูออกเสียงชัดถ้อยชัดคำ (ตามวัย) และยังได้บริหารอวัยวะภายในอีกด้วย
3. ร้องเพลงดังๆ แก้ขี้อาย เห็นเป็นแม่หนูน้อยขี้อายม้วนต้วนต่อหน้าใครๆ อย่างนี้เถอะ แกก็ยังสามารถร้องเพลงออกมาได้ง่ายกว่าการพูดเป็นประโยคเสียอีก เนื่องจากเด็กๆ จะรู้สึกเสรีเวลาที่ได้ใช้คำและน้ำเสียงเปล่งออกมาเป็นเพลง ยิ่งเป็นเพลงสนุกชวนคึกคัก แกก็จะทำท่ายึกยักแถมให้ชมเป็นขวัญตาอีกด้วย
4. ระหว่างร้องเพลง สมองทั้งสองข้างจะถูกกระตุ้น ซึ่งก็จะทำให้พัฒนาการด้านอารมณ์ถูกกระตุ้นไปพร้อมๆกันด้วย นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้เพลงพัฒนาทักษะด้านอื่นของลูกไปพร้อมกันเช่น ร้องเพลง + เล่านิทาน + วาดรูป ก็จะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้น้องหนูไปในตัว
5. ร้องเพลงสร้างความสัมพันธ์ การร้องเพลงนอกจากจะช่วยทักษะการพูด เขียนและอ่านของลูกให้ดีขึ้นแล้ว ยังใช้เพิ่มความสัมพันธ์กับกิจกรรมของสมาชิกในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็น กินข้าว แปรงฟัน ขึ้นรถ แต่งตัว ฯลฯ คุณสามารถทำทุกอย่างใกล้ตัวให้เป็นเสียงเพลงได้ค่ะ
กิจกรรมที่ 3 การเรียนการสอนในหัวข้อเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิต โดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
โอกาสและจังหวะ การช่วยเหลือเด็กเมื่อไหร่
-เด็กมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งที่เด็กขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (เด็กอายุ 3-4 ปี)
ลำดับขั้นตอนในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น การย่อยงาน การเข้าส้วม
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรมที่ 4 การวาดวงกลมด้วยสีเทียน
จากนั้นนำวงกลมที่สร้างสรรค์มาแปะลงลำต้นที่อาจารย์กำหนดไว้
ต้นไม้วงกลมที่สมบูรณ์แบบ
จากกิจกรรมจะช่วยส่งเสริม ความคิด จินตนาการ คณิตศาสตร์ ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กในการสร้างสรรค์วงกลม การนำเอาผลงานมาแปะเป็นรูปต้นไม้ การลากเส้นวงกลมบ่งบอกสภาวะอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ กิจกรรมนี้ยังเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนๆ และครูอีกด้วย
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
-เเต่งกายเรียบร้อย
-มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในเนื้อการเรียน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี
-เพื่อนๆส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวไปร้องเพลงมา ทำให้ร้องเพลงท้ายคาบได้ดีตรงจังหวะ เเละพร้อมเพียงกันดี
ประเมินอาจารย์ผู่สอน
-อาจารย์รู้จักการกระตุ้นพฤติกรรมการสนใจเรียนให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาดี
-เเต่งกายสุภาพ
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558
์No 11
Note 11
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 11
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 5 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 2 มีนาคม 2558
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
1.การเรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
2.การดูภาพสะท้อนความรู้สึก รูปภาพเกี่ยวกับสัตว์ อยู่ในป่า
3.การร้องเพลงเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กผ่านเพลง
4.การชมดูวิดีโอเพื่อความรู้การสอนเด็กพิเศษ
5.การบรรยายเนื้อหาการเรียนการสอน เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
6.Post test "ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อะไรบ้าง"
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก
การพูด เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่น สาระที่เด็กควรเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย และตรงตามความต้องการของเด็ก
การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น
การนำเสนอสาระการเรียนรู้ด้านภาษา ทั้งประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้โดยแยกตามทักษะการใช้ภาษานั้น เพื่อให้ครูมีความกระจ่างชัดต่อทักษะทางภาษาในแต่ละทักษะ ไม่ได้หมายถึงการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กโดยแยกแต่ละทักษะออกจากกัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยด้านภาษาต้องเป็นการบูรณาการทุกทักษะเข้าด้วยกัน โดยจัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง
7.การลากเส้นตามเพลงสะท้อนความรู้สึก จิตใจ (งานคู่)
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
-ตั้งใจเรียน บันทึกเนื้อหาได้อย่างละเอียด ครบถ้วน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา สุภาพอ่อนน้อม
-มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่เข้าง่าย สนุกสนาน เพลิดเพลิน
-อาจารย์แต่งกาย เข้าสอนตรงเวลาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์
์No 8
Note 8
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 8
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 5 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 2 มีนาคม 2558
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
การเรียนการสอนเข้าสู่บทเรียนโดยการถามตอบจากรูปภาพที่อาจารย์กำหนดให้ ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน พร้อมกับเนื้อหาการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ”
“ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
•เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา
•การแสดงออกทางภาษา
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
•ให้เวลาเด็กได้พูด
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว
(ครูไม่พูดมากเกินไป)
•เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม
เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
•กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
(ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
•เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
•ใช้คำถามปลายเปิด
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
การนำไปประยุกต์ใช้
เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อการสอนเด็กปฐมวัยเพื่อการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยมีแรงกระตุ้นที่ดี คุณครูมีแนวทางในการสอนเด็กให้เด็กได้รู้ว่าเขาก็เหมือนเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถนำแนวทางเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะเด็กพิเศษ ในด้านภาษา ฯลฯ ที่ได้จากคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ในวิชาชีพด้วย
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
-มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและอาจารย์
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้ดี
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริง น่ารัก
-อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์
No.7
Note 7
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 7
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 5 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558
***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค***
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์
No.6
Note 6
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 6
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 5 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
Birthday Party
วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
Noe 5
Note 5
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 5
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 5 กลุ่ม 104
วันจันทร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
-กิจกรรมการวาดภาพมือสื่อความหมาย
-การเรียนการสอนเนื้อหาเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
-การร่วมกันร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
กิจกรรมที่ 1 การวาดภาพมือสื่อความหมาย
-วาดภาพมือของเราให้เหมือนที่สุดโดยมือจะต้องใส่ถุงมือ
จากกิจกรรมในภาพนี้ เราไม่สามารถวาดมือของเราให้ได้เหมือนที่สุดได้ถึงแม้ว่าเราจะเห็นมือของเราตั้งแต่เกิดก็ตาม เพราะลายเส้นในมือมีความระเอียด ยุ้งเหยิง
-การวาดภาพมือโดยมีมือจริงเป็นแม่แบบ
จากกิจกรรมสื่อความหมายตามภาพนี้ การวาดภาพมือให้เหมือนที่สุดโดยมีมือที่ไร้ถุงมือเป็นแม่แบบ เราก็ไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เหมือนจริงได้เช่นกัน เพราะลายเส้นของมือนั้น มีความซับซ้อน ละเอียดละออ
กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
1.การฝึกเพิ่มเติม การอบรมรม การสัมมนา
2.การเข้าใจภาวะปกติของเด็ก
3.การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
4.ความร้อมของเด็ก
5.การสอนโดยบังเอิญ
6.อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
7.ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
-เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
-คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
-การยืดหยุ่น
-การใช้สหวิทยาการ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
การจัดการเรียนร่วมจะประสบความสำเร็จเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับครูที่จะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษและการจัดการเรียนร่วม ครูต้องมีความตั้งใจในการสอน มีการวางแผนการสอนอย่างรอบคอบ จัดการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น และควรมีแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้มีลักษณะปกติ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาเป็นภาระให้กับเพื่อนและครู และครูควรได้รับการอบรมฝึกฝนในเรื่องการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การประเมิน
การประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
-เเต่งกายเรียบร้อย
-มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในเนื้อการเรียน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี
-เพื่อนๆส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวไปร้องเพลงมา ทำให้ร้องเพลงท้ายคาบได้ดีตรงจังหวะ เเละพร้อมเพียงกันดี
ประเมินอาจารย์ผู่สอน
-อาจารย์รู้จักการกระตุ้นพฤติกรรมการสนใจเรียนให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาดี
-เเต่งกายสุภาพ
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 5
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)